มีวิธีการจัดการข้อมูลสารสนเทศดังต่อไปนี้
1. การรวบรวมข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลจากหลายๆแหล่งข้อมูลและหลายๆชุดข้อมูล มาจัดเก็บไว้เพื่อรอการคัดกรอง ตรวจสอบ ก่อนนำไปจัดทำเป็นสารสนเทศต่อไป
2. การตรวจสอบข้อมูล
ข้อมูลที่ได้มาจากการสืบค้นบนเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งมีจำนวนมากมายนั้น ก่อนจะนำไปประมวลผลเพื่อจัดทำสารสนเทศ ควรมีการตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ และเลือกเฉพาะข้อมูลที่ตรงกับเป้าหมายการนำไปใช้เท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลมีประเด็นที่ควรคำนึงดังนี้
- ข้อมูลมีความถูกต้องและทันสมัย
- มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือกำกับไว้
- ผู้เขียนเนื้อหาเป็นใคร เป็นหน่วยงานภาคการศึกษา หน่วยงานรัฐ หรือบุคคลทั่วไป
- ถ้าเป็นข้อมูลเรื่องเดียวกัน หากหลายๆแหล่งข้อมูลกล่าวไว้ตรงกัน ก็ถือว่ามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
3. การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลตามที่สนใจจากที่ต่างๆแล้ว ให้นำข้อมูลมาดำเนินการอาจเป็นการคำนวณกรณีข้อมูลเป็นตัวเลข หรือเรียงลำดับ จัดกลุ่ม ซึ่งล้วนเป็นการประมวลผล (processing) ทั้งสิ้น การประมวลผลข้อมูลสารสนเทศมี 3 ขั้นตอน ดังนี้
3.1 การเตรียมข้อมูล (Input) ในขั้นตอนนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลให้เหมาะสม เช่น การทำรหัสแทนข้อมูลจริง เช่น ชาย แทนด้วย 1 ส่วนหญิง แทนด้วย 2 จากนั้นนำข้อมูลมาบันทึกลงสื่อคอมพิวเตอร์
3.2 การประมวลผล (Processing) นำข้อมูลมามาดำเนินการคำนวณเพื่อหาค่าทางสถิติต่างๆ ปัจจุบันนิยมใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในคำนวณ
3.3 การรายงานผล (Output) เป็นการนำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ที่ต้องการสารสนเทศนำไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างสะดวก ง่าย และมองเห็นภาพ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของตาราง ภาพ แผนภูมิชนิดต่างๆ
4. การเก็บข้อมูลและสารสนเทศ
เมื่อได้ข้อมูลและสารสนเทศแล้ว ควรมีการเก็บรักษาไว้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศดัวย ดังนี้
4.1 การบันทึกข้อมูลในสือบันทึกต่างๆ เช่น ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ (Hard Disk) แผ่นดิสก์ (Diskette) และในการเลือกสื่อบันทึกข้อมูลจะต้องพิจารณาถึงความทนทาน สะดวกต่อการจะเรียกใช้งาน
4.2 การทำสำเนาถาวร เป็นการเก็บรักษาข้อมูลเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อการแจกจ่ายข้อมูลและสารสนเทศไปยังผู้ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์หรือการส่งต่อให้ผู้ที่ต้องการ ดังนั้นการทำสำเนาจึงต้องมีความสำคัญ ซึ่งการทำสำเนาเอกสารมีหลายแบบ เช่น การพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร จัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล การถ่ายเอกสารเก็บไว้ เป็นต้น
ที่มา : หนังสือคู่มือครู วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ป.6 : สำนักพิมพ์ อจท.
ให้นักเรียนสร้างเนื้อหาความรู้ เรื่อง อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ มาอย่างน้อย 3 ชนิด ลงในบล็อกส่วนตัวและจัดทำลิงค์เชื่อมโยงบนกระดานแสดงความคิดเห็นมาด้วย
4.2 การทำสำเนาถาวร เป็นการเก็บรักษาข้อมูลเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อการแจกจ่ายข้อมูลและสารสนเทศไปยังผู้ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์หรือการส่งต่อให้ผู้ที่ต้องการ ดังนั้นการทำสำเนาจึงต้องมีความสำคัญ ซึ่งการทำสำเนาเอกสารมีหลายแบบ เช่น การพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร จัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล การถ่ายเอกสารเก็บไว้ เป็นต้น
ที่มา : หนังสือคู่มือครู วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ป.6 : สำนักพิมพ์ อจท.
**************************************************************
ใบงาน